การ ออกแบบ กราฟฟิก ที่ดีควรเข้าใจคนพื้นที่
ออกแบบ กราฟฟิก ยังไงในพม่า
กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ หรือนัก ออกแบบ กราฟฟิก อาชีพหลายๆ คนที่มีประสบการณ์ในประเทศไทยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เมื่อออกนอกประเทศ เราควรรู้ว่า การมองเห็น และเข้าใจในกราฟฟิก ไม่เหมือนกัน ในครั้งนี้ผมยกตัวอย่างการ ออกแบบกราฟฟิก ในประเทศเมียนมา หรือ ประเทศพม่า
จากประสบการณ์ตรง ของการทำธุรกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และการจัด อีเวนท์ต่างๆ ในประเทศพม่า ตลอดระยะเวลา 6 ปี เราจะรับรู้ได้ว่า ความพยายาม ใส่ความเป็นตัวตน หรือเป็นความเป็นเอกลักษณ์ หรือ พัฒนางานการ ออกแบบกราฟฟิก ที่มากและเร็วเกินไป ยังทำให้คนในพื้นที่รับรู้ไม่ได้ หรือเข้าไม่ถึงความสวยงามที่เราต้องการสื่อ โดยเราสรุปได้ด้วย ประสบการณ์ ประมาณ 5 ข้อ ดังนี้
1. การใช้สีเพื่อ ออกแบบ กราฟฟิก
เราอาจเคยชอบ การออกแบบ สีที่ดูสบายตา เรียบหรู เรียบง่าย เช่น ขาว ดำ หรือสีโทนอ่อนๆ สีไม้ หรือสีครีมๆ ซึ่งนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้แต่ ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ เพราะคนพม่าชอบสีฉูดฉาด จัดจ้าน เช่น สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีโทนสดใส จัดจ้าน และการตัดสี ก็ตัดกันแบบ เขียวแดงเหลือง อะไรประมาณนี้ ซึ่งสีพวกนี้เราก็จะสังเกตุ ได้จาการแต่งตัว การใช้เสื้อผ้า การตกแต่งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย คนท้องถิ่นชอบใช้สี สดๆ เข้มๆ
โดยความชื่นชอบที่ว่านี้ ไม่ได้อยู่ในแค่นอกเมือง เหมือนบ้านเรา เขาชอบกันทั้งประเทศ แม้กระทั้งในตัวเมืองย่างกุ้ง ที่เปรียบได้เหมือน กรุงเทพบ้านเรา เขาก็ชื่นชอบในสีสดใสไว้ก่อน ดังนั้นการจะออกแบบโลโก้ หรือตราสัญลักษณ์ นักออกแบบควรคำนึงถึง สีสดใสไว้ก่อน แล้วค่อยใส่ความเป็นแนวสมัยใหม่ หรือสีโทนอ่อนสอดแทรกเข้าไปด้วย ค่อยๆ ให้เขาปรับอารมณ์ ให้เจ้าของแบรนด์ หรือลูกค้าของเราปรับอารมณ์ โดยการเสพติดงาน ของเราก่อนค่อยแนะนำให้ใช้สี โทนที่เราอยากให้เป็นตั้งแต่แรก เหมือนประมาณว่า ถ้าออกแบบโลโก้ คุณต้องออกแบบ ให้สีฉูดฉาดยังไงให้ดูอ่อนโยน นั้นคือโจทย์ ของการ ออกแบบกราฟฟิก ในพม่า
2. การใช้สัญลักษณ์เพื่อ การออกแบบ กราฟฟิก
สิ่งต่อมาจากการใช้สี นักออกแบบควรคำนึงถึง การใช้สัญลักษณ์ในการออกแบบ ประเทศพม่า หรือเมียนมา มีความชอบนกยูง หรือที่เขาเรียกว่า การะเวก หรืออะไรที่สื่อถึงเทพ ต่างๆ ที่เขานับถือ หรือสื่อถึงสิ่งลี้ลับ ที่เขาจินตนาการถึง เขาจะเลือกสิ่งนั้นก่อน แต่มีสิ่งที่เข้าไม่ชอบ หรืออาจชอบมากก่อนก็ไม่รู้ แต่ผมเคยถามลูกค้าว่าทำไมไม่ชอบ เขาตอบว่าเป็นสัญลักษณ์ของทหาร นั้นคือ สิงห์
ซึ่ง ในนามของนักออกแบบผมก็ตะลึงอยู่สักพัก ในความคิดของเขาว่าสิงห์ คือสัญลักษณ์ที่ทหารใช้มาก่อนแล้วก็เลยทำให้เขาไม่ชอบ หรือไม่ใช้กัน เขาให้เหตุผลว่า ถ้าเขาทำโลโก้รูปสิงห์ ลูกค้าที่เห็นโลโก้ของร้านเขา จะเข้าใจว่าเป็นร้านของทหาร อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ ของการ ออกแบบ กราฟฟิก ที่ผมเคยเจอมา ซึ่งเราอาจมองว่าสิงห์ เป็นสัตว์ผู้นำ ทรงพลัง และน่าเกรงขาม แต่สัญลักษณ์นั้นถูกนำไปใช้ในทางทหาร ทำให้ความคิดของคนพม่ามองว่า การใช้สิงค์เป็นสิ่งที่ผู้คนไม่ชอบ
3. การใช้ฟอนต์ และการสกดคำ
คุณอาจเคยได้ยินคำสวัสดีภาษาพม่าใน หนังสืออาเซียนว่า มิงกาลาบา มาบ้างแล้วแต่ภาษาเขียนของพม่าแปลความหมายเป็นไทย สลับหลังมาหน้า เช่น ดีอะไรกินข้าว ประมาณนี้นั้นเป็นที่ยากลำบากในการเขียนคอนเท้น ถ้าคุณคิดจะทำสื่อบางอย่างในพม่า คุณต้องมีคนคอยแปลภาษาไทย เป็นพม่า เพราะการเขียนมาสองแบบ แบบ zawgyi และ แบบ unicode
ซึ่งมีความแตกต่างในการกดคีย์บอร์ด และพนักงานพม่าบางคนยังพิมพ์ unicode ไม่ได้เพราะเมื่อก่อนที่จะมีการเขียนแบบ unicode เขาใช้ zawgyi มาก่อน ซึ่ง zawgyi เขียนง่ายกว่าแต่ไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบฟอนต์ได้ นั้นคือปัญหาของนักออกแบบกราฟฟิก ถ้าคุณเข้ามาทำธุรกิจใหม่ๆ ในพม่าคุณจะไม่รู้เรื่องนี้ งานของคุณก็จะเหมือน เขียนภาษาไทยใช้แต่ Angsana new ในงานออกแบบทุกชิ้น
ถ้าคุณคิดจะทำธุรกิจออกแบบกราฟฟิกในพม่าคุณควรมีความรู้เรื่องภาษาพม่า เพราะพนักงานพม่าไม่สามารถแปลให้คุณได้แบบที่คุณต้องการแน่นอน มันจะเหมือนคุณอยากพูดว่า เรียนท่านผู้ชมทุกท่าน เขาจะแปลให้คุณว่า “การศึกษาผู้ดูทุกคน”
และถ้าคุณไม่มีความรู้คุณก็จะได้งานแบบหน้าแตกไปทำเป็นบิลบอร์ด แบบสื่อความหมายผิด ทั้งๆ ที่ภาษาพม่าก็มีความแสลง มีเล่นคำเหมือนกับภาษาไทยนั้นแหละ แต่คนแปลต้องมีประสบการณ์มากๆ ต้องเคยทำงานที่ไทย มานานมาก และต้องเขียน unicode ได้ด้วย เพราะพม่าที่พูดไทยได้ส่วนใหญ่เป็นรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งพูดพม่าไม่ได้ หรือพูดได้แต่เขียนไม่ได้ คุณต้องเลือกลูกน้องดีๆ
4. การเลือกพนักงาน ช่วยในการ ออกแบบ กราฟฟิก
การเลือกพนักงานเพื่อมาเป็นกราฟฟิก ของบริษัทคุณ คุณต้องให้เขาเทส เทส เทส เทส และก็เทส ไม่ว่าคุณจะรีบแค่ไหนคุณก็ต้องให้เขาเทส หลายๆ คน โดยสกิลที่เขาต้องมีคือ พูดอังกฤษ ไทย พม่า และเขียนฟอนต์ unicode ได้ สั้นคือสิ่งที่คุณต้องการ ไม่ใช่พนักงานที่บอกว่าเขาทำได้ เขาเคยทำ อย่าไปเชื่อ ให้คุณใจเย็นๆ และหาคนที่คู่ควรจริงๆ แต่ไม่มีหรอก
ผมหามาหกปี จะมีแต่มาทำเอาประสบการณ์ เพื่ออัพค่าตัวกับบริษัทพม่าด้วยกัน อย่าถามหา passion ในการทำงานของพม่า เพราะเขาจะทำให้คุณแค่ในเวลา และตามสั่ง เพราะฉนั้น งานออกแบบของคุณต้องเป็นลูกน้องคนไทย หรือทำได้ด้วยตัวเอง ถ้าคิดจะมาหาพม่า เป็น ดีไซต์เนอร์ คุณจะได้ พนักงานฝึกหัดทำกราฟฟิก
แต่ไม่ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลยนะพนักงานที่ทำให้ร่วมกับคุณได้แต่คุณต้องใช้เวลา และค้นหา ด้วยความ แตกต่างด้านภาษา และวัฒนธรรม นอกจากพนักงานที่คุณต้องหาแล้วคุณต้องเข้าใจว่าการทำงานของพนักงานคุณต้องมีการสอนหรือให้เขาฝึกทำในแบบที่คุณต้องทำ และคุณอยากได้อาจใช้เวลแต่ว่าถ้าเขาเป็นแล้วคุณก็จะสบายในที่สุด
5. การปริ้นงาน การติดตั้ง การส่งมอบงาน
สิ่งสุดท้ายที่คุณต้องคำนึงถึง ก่อนจะจบงานคุณต้องรู้ว่าสิ่งที่คุณออกแบบ จะมีคนผลิตให้คุณได้จริง เช่น พม่ายังไม่มีโรงงานที่สามารถ ทำปั้มนูนและเคลือบเงาหน้าปกให้คุณได้ คุณสามารถทำได้แค่ เคลือบเท่านั้น และคุณต้องให้เขาส่งตัวอย่างมาให้ดูทุกครั้ง และต้องเผื่อเวลาเสมอ เพราะในพม่าไม่มีงานไหนส่งงานให้คุณแบบไม่ตื่นเต้น คุณต้องนัดส่งก่อน ใช้งานอย่างน้อย 2-3 วันเสมอ เพราะถ้ามีปัญหาเรื่องความละเอียด คุณยังจะแก้ไขทัน ถ้าคุณจะออกแบบป้ายโลโก้ คุณต้องคำนึงถึงวัสดุ และความยากของการออกแบบ ว่าจะมีคนผลิตให้คุณได้ไหม
เพราะด้วยความสามารถ และความละเอียดเรื่องการทำงานของแรงงาน ในพม่ายังไม่เท่าบ้านเราดังนั้นการออกแบบอะไรที่มันสามารถทำได้ในพม่าจึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง ไม่อย่างนั้นงานคุณจะออกมาแบบที่ไม่น่าพึงพอใจเท่าไหร่
ใช้คนที่มีประสบการณ์
บริษัทเจรา ครีเอชั่นจำกัด มีประสบการณ์ในการทำงาน ออกแบบ กราฟฟิก ทั้งในไทย ในพม่า และในหลายๆ ประเทศในอาเซียน ประสบการณ์กว่า 10 ปี เรามีทีมเขียนคอนเท้นโฆษณา ที่เป็นพม่า และสามารถออกแบบและสื่อสารกับคนพม่าได้เป็นอย่างดี ติดต่อหาเรา เรายินดีให้คำปรึกษาครับ
ดูราคาบริการของเราได้ที่นี่ คลิก
หรือโทร : 094-5216486 (เคเค)
Face Book : jera creation